อียอน อันตอเนสกู
อียอน อันตอเนสกู

อียอน อันตอเนสกู

อียอน วิกตอร์ อันตอเนสกู (โรมาเนีย: Ion Victor Antonescu) หรือมีสมญาว่า หมาแดง (Câinele Roșu) เป็นนายทหาร, นักการเมือง และ ผู้นำเผด็จการชาวโรมาเนียและ ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีและผู้นำแห่งรัฐ (Conducător) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้ปกครองแบบระบอบเผด็จการเป็นเวลาสองสมัยในสมัยระหว่างสงคราม ภายหลังสงคราม เขาได้ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานก่ออาชญากรรมสงครามและลงโทษด้วยการประหารชีวิตเจ้าหน้าที่ทหารแห่งกองทัพโรมาเนียได้ทำการบันทึกชื่อของเขาในช่วงการก่อกบฏชาวนาโรมาเนียในปี ค.ศ. 1907 และสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในการทัพโรมาเนีย จากการต่อต้านชาวยิวนั้น อันตอเนสกูได้เห็นด้วยกับการเมืองฝ่ายขวาและลัทธิฟาสซิสต์แห่งชาติคริสเตียนและกลุ่มผู้พิทักษ์เหล็กอย่างมากในช่วงสมัยระหว่างสงคราม เขาได้เป็นผู้แทนทางทหาร (military attaché) ไปยังฝรั่งเศสและต่อมาได้เป็นเสนาธิการ ในช่วงเวลาสั้น ๆ ก็ได้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในคณะรัฐมนตรีคริสเตียนแห่งชาติของ Octavian Goga ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1930 ด้วยจุดยืนทางการเมืองของเขาได้ทำให้เขาเกิดขัดแย้งกับสมเด็จพระเจ้าคาโรลที่ 2 และถูกคุมขังเอาไว้ อันตอเนสกูยังคงได้รับความนิยมทางการเมืองมากขึ้นในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเมืองในปี ค.ศ. 1940 และได้จัดตั้งรัฐเผด็จการทหารแห่งชาติ (National Legionary State) ได้เป็นผู้สมรู้ร่วมคิดอย่างไม่สบายใจกับผู้นำพิทักษ์เหล็กอย่าง โฮเรีย ซีมา ภายหลังจากโรมาเนียได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับนาซีเยอรมนีและฝ่ายอักษะ และมีความเชื่อมั่นต่อความมั่นใจอย่างแรงกล้าของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เขาได้กำจัดเหล่าผู้พิทักษ์ในช่วงการก่อกบฏทหาร (Legionary Rebellion) ในปี ค.ศ. 1941 นอกเหนือจากนั้นเขาได้เป็นผู้นำในการบริหาร เขาได้คั่วตำแหน่งเป็นสำนักงานการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ไม่นานหลังจากโรมาเนียได้เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะในปฏิบัติการบาร์บารอสซาคือการรุกรานสหภาพโซเวียต ได้ชิงเอาแผ่นดินเบสซาราเบียและ Bukovina ทางตอนเหนือกลับคืนมา อันตอเนสกูได้กลายเป็นจอมพลแห่งโรมาเนียด้วยจำนวนที่ผิดปกติในหมู่ผู้กระทำผิดในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวหรือฮอโลคอสต์ อันตอเนสกูได้บังคับใช้นโยบายที่มีส่วนรับผิดชอบต่อการตายของผู้คนจำนวนมากถึง 400,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวเบสซาราเบีย ยูเครน และโรมาเนียเชื้อสายยิว เช่นเดียวกับชาวโรมาเนีย โรมานี ด้วยการสมรู้ร่วมคิดของระบอบการปกครองในการฆ่าล้างเผ่าพันธ์รวมและการสังหารหมู่ เช่น การสังหารหมู่ที่โอเดสซ่าด้วยการขจัดชาติพันธุ์ การขับไล่เนรเทศอย่างเป็นระบบเพื่อยึดครองทรานส์นีสเตรียและละเลยทางอาญาอย่างกว้างขวาง ด้วยระบบในสถานที่ยังคงมีความโดดเด่นด้วยความไม่สอดคล้องกัน การจัดลำดับในการปล้นสดมภ์ในการฆ่าทั้งหมด ได้แสดงความเมตตากับชาวยิวส่วนใหญ่ในราชอาณาจักรเก่า และในที่สุดก็ได้ปฏิเสธที่จะใช้มาตราการสุดท้ายตามที่ได้ถูกประกาศใช้โดยนาซีที่ได้ยึดครองยุโรปด้วยความสูญเสียอย่างหนักบนแนวรบด้านตะวันออกทำให้อันตอเนสกูเริ่มดำเนินการเจราสันติภาพที่ไม่สามารถหาข้อสรุปกับฝ่ายสัมพันธมิตร ภายหลังการเจรจา เขาได้ถูกขับออกจากตำแหน่งผู้นำในการก่อรัฐประหารโดยพระราชาธิบดีไมเคิลที่ 1ซึ่งยังทรงพระเยาว์ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นที่รู้จักในนามของการก่อกบฏพระราชาธิบดีไมเคิล ภายหลังจากถูกคุมขังในสหภาพโซเวียต ในช่วงเวลาระยะสั้น อันตอเนสกูได้ถูกส่งตัวกลับโรมาเนียซึ่งเขาได้ถูกไต่สวนโดยศาลของประชาชนพิเศษและถูกตัดสินโทษให้ประหารชีวิต นี่เป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาคดีที่ได้ผ่านการพิพากษาต่าง ๆ ของเขา กระบวนการความยุติธรรมได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากสำหรับการตอบสนองต่อความสำคัญอุดมการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์โรมาเนีย เรื่องที่เป็นแรงผลักดันของเหล่าชาตินิยมและความพยายามของกลุ่มฝ่ายขวาจัดเพื่อให้อันตอเนสกูได้พ้นข้อกล่าวหา ในขณะที่กลุ่มเหล่านี้ได้ยกย่องให้อันตอเนสกูกลายเป็นวีรบุรุษจากการที่เขาได้มีส่วนร่วมในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ได้รับกล่าวยืนยันอย่างเป็นทางการและถูกประณามกลับในภายหลังจากรายงานกรรมมาธิการวีเซิล ปี ค.ศ. 2003

อียอน อันตอเนสกู

บำเหน็จ Order of Michael the Brave
ยศ จอมพล
คู่สมรส มารียา อันตอเนสกู
ก่อนหน้า อียอน จีกูร์ตู
ประจำการ ค.ศ. 1904–1944
พรรคการเมือง ไม่มี
การยุทธ์ สงครามบอลข่านครั้งที่สอง
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
สงครามโลกครั้งที่สอง
เกิด 15 มิถุนายน ค.ศ. 1882(1882-06-15)
ปีเตชต์ เทศมณฑลอาร์เจช โรมาเนีย
บังคับบัญชา ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
สังกัด Romanian Land Forces
ชื่อเล่น "หมาแดง"
รับใช้ ราชอาณาจักรโรมาเนีย
ถัดไป กอนสตันติน เซอเนอเตสกู
กษัตริย์ พระเจ้าคาโรลที่ 2
พระเจ้ามีไฮที่ 1
วิชาชีพ ทหาร
เสียชีวิต 1 มิถุนายน ค.ศ. 1946 (63 ปี)
ฌีลาวา เทศมณฑลอิลฟอฟ โรมาเนีย
ศาสนา ออร์ทอดอกซ์โรมาเนีย
สัญชาติ โรมาเนีย

ใกล้เคียง

อียอน อี. เช. เบรอตียานู อียอน อันตอเนสกู อีลอน มัสก์ อียาน เลอเกิง อีออน ฟลักซ์ สวยเพชฌฆาต อียานิก บอลี อียอล็องด์แห่งเดรอ อีบอน มอสส์-บาครัค อีวอน แบลิน อีแอน พรีทีแมน สตีเวนสัน